วิธีที่ ASUS สร้างประสบการณ์ในฝันให้กับเกมเมอร์และตัวแทนจำหน่าย

ผู้ผลิตเทคโนโลยีต้องการสร้าง O2O ที่สมบูรณ์แบบและประสบการณ์ของแบรนด์ในขณะที่ยังเพิ่มยอดขายของตัวแทนจำหน่าย

โลโก้

ก่อตั้งเมื่อ

ปี 2532

ไทเป ไต้หวัน

www.asus.com

พาร์ทเนอร์

SmartOSC

www.smartosc.com

32%

เซสชันบนเว็บเพิ่มขึ้นตั้งแต่เปิดตัว

ผลิตภัณฑ์:

Adobe Commerce ›

ไอคอนช่องทำเครื่องหมาย

วัตถุประสงค์

มอบประสบการณ์การค้าแบบ B2C และ B2B ที่แข็งแกร่งและเป็นหนึ่งเดียว

ปรับปรุงการสื่อสารระหว่างสำนักงานท้องถิ่นและตัวแทนจำหน่าย

นำเสนออีคอมเมิร์ซบนเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมความมุ่งมั่นของตัวแทนจำหน่าย

ไอคอนกราฟ

ผลลัพธ์

รายได้เติบโต +56% (ปีต่อปี)

การทำธุรกรรมเพิ่มขึ้น +59%

เซสชันบนเว็บเพิ่มขึ้น +32% ตั้งแต่เปิดตัว

การสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่สมบูรณ์แบบสำหรับทุกคน

นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2532 ทาง ASUS ได้กลายเป็นแบรนด์ชั้นนำเมื่อผู้คนมองหาโน้ตบุ๊กสำหรับเล่นเกมและใช้งานทั่วไป โดยนิตยสาร Fortune ยกให้เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับเสียงชื่นชมมากที่สุดในโลกเป็นเวลาห้าปี บริษัทนี้แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทที่จะส่งมอบเทคโนโลยีล้ำสมัยและสร้างแรงบันดาลใจที่สุดผ่านแบรนด์คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปเล่นเกมสเปคสูงอย่าง The Republic of Gamers (ROG) และการให้ลูกค้าสามารถออกแบบและปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมตามความต้องการของตนได้

ธุรกิจในภูมิภาคของ ASUS ส่วนใหญ่ในสิงคโปร์อาศัยเครือข่ายตัวแทนจำหน่ายที่ตั้งอยู่ในร้านค้าปลีก แบรนด์ต้องการปรับปรุงการสื่อสารระหว่างสำนักงานท้องถิ่นและตัวแทนจำหน่ายเพื่อให้กระบวนการมีความแม่นยำและคล่องตัวยิ่งขึ้นในการติดตามการซื้อและการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในขณะเดียวกัน ASUS ก็พยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับการสร้างแบรนด์ตลอดกระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า เว็บไซต์ของแบรนด์นำเสนอแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ แต่ไม่มีการสั่งซื้อออนไลน์ แบรนด์ต้องการเพิ่มอีคอมเมิร์ซลงในเว็บไซต์ของตน ซึ่งยังคงส่งเสริมความมุ่งมั่นของตัวแทนจำหน่ายในขณะเดียวกันก็ยังเพิ่มการขายตรงไปยังผู้บริโภคด้วยประสบการณ์เฉพาะที่สอดคล้องกับชุมชนเกมเมอร์

ASUS ต้องการแพลตฟอร์มเดียวสำหรับอีคอมเมิร์ซ B2B และ B2C จากการร่วมมือกับ SmartOSC ทางแบรนด์ได้เลือกใช้ Adobe Commerce เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการส่งมอบทุกสิ่งตามความต้องการด้านอีคอมเมิร์ซที่กำหนดไว้ รวมถึงแนวทางแบบรวมศูนย์อันทรงประสิทธิภาพสำหรับ B2C และ B2B บนเว็บไซต์เดียว พร้อมการปรับแต่งในระดับสูง ขณะเดียวกันก็ปรับกระบวนการแบ็กออฟฟิศให้มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์นี้ไม่ใช่แค่การส่งมอบอีคอมเมิร์ซให้กับลูกค้าแต่เป็นการผสานรวมระหว่างระบบออฟไลน์กับออนไลน์ (O2O) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงโปรแกรมรางวัล พร้อมทั้งช่วยตัวแทนจำหน่ายปรับปรุงการติดตามการขายและเพิ่มรายได้

“เว็บไซต์ของ ASUS ในปัจจุบันเป็นแหล่งที่เหมาะที่สุดสำหรับการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของเรา การเพิ่มเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะนำเสนอโซลูชันการช้อปปิ้งที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นนอกเหนือจากร้านค้าแบรนด์และร้านค้าปลีกที่ได้รับอนุญาตทั้งหมดของเรา การโฮสต์เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของเราเองยังสอดคล้องกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบ O2O ที่ไร้รอยต่อและโปรแกรมรางวัลที่น่าสนใจให้กับลูกค้าของเรา”

Emma Ou

ผู้จัดการประจำประเทศของ ASUS Singapore

ทำให้ความฝันของลูกค้าและตัวแทนจำหน่ายเป็นจริง

ในฐานะแบรนด์ด้านนวัตกรรม แค่ให้บริการสั่งซื้อออนไลน์แก่ลูกค้าคงยังไม่พอ ในทางกลับกัน ASUS ได้เล็งเห็นถึงความสามารถของลูกค้าในการสร้างพีซีหรือแล็ปท็อปในฝันของลูกค้า SmartOSC พัฒนาเครื่องมือออนไลน์สำหรับเว็บไซต์ใหม่ให้ลูกค้าเลือกสรรส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ สั่งซื้อ และจัดส่งเครื่องสำเร็จไปถึงบ้านโดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในภูมิภาคสิงคโปร์ สำหรับเบื้องหลัง SmartOSC ผสานการทำงานของ Adobe Commerce กับ CRM แบบรวมศูนย์และระบบจัดการคำสั่งซื้อของ ASUS เพื่อซิงค์ข้อมูลลูกค้าพร้อมกับสถานะการสั่งซื้อและการจัดส่งในทุกช่องทาง ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าทีมบริการและทีมค้าปลีกสามารถเข้าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่งซื้อของลูกค้าได้ทุกที่ทุกเวลาเพื่อประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อ

สำหรับ ASUS การเพิ่มอีคอมเมิร์ซแบบ B2B เป็นโอกาสที่ดีในการลดความซับซ้อนของการกระจายรายได้ไปยังตัวแทนจำหน่าย โดยเริ่มต้นด้วยการเปิดตัวโปรแกรมพาร์ทเนอร์ที่ทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ใหม่โดยอัตโนมัติตามการจัดสรรผลิตภัณฑ์ของตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้ดำเนินการเช่นนี้ได้ SmartOSC ได้ผสานการทำงานของระบบ ERP ของตัวแทนจำหน่ายและผู้จัดจำหน่ายเข้ากับ Adobe Commerce ตัวแทนจำหน่ายจะได้รับมอบหมายให้จัดการคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์หรือสายผลิตภัณฑ์แต่ละรายการ จากนั้นจะได้รับส่วนแบ่งที่เหมาะสมจากยอดขายสำหรับหมวดหมู่ที่ได้รับมอบหมาย โดยส่วนขยาย PayPal Parallel Checkout จะช่วยแบ่งยอดเงินที่ลูกค้าชำระโดยอัตโนมัติ

เพื่อสนับสนุนตลาดเชิงพาณิชย์ต่อไป ทีมงานระดับองค์กรจะให้การสนับสนุนผ่านทางโทรศัพท์หรืออีเมลผ่านทางเว็บไซต์ ธุรกิจที่สนใจใช้ผลิตภัณฑ์ ASUS ยังสามารถเป็น "พาร์ทเนอร์" กับบริษัทเพื่อรับส่วนลดพิเศษเฉพาะอุตสาหกรรมและเงื่อนไขการขายที่ต่างออกไปซึ่งสงวนไว้สำหรับการทำธุรกรรม B2B และ B2B2C เพื่อขยายบริการออนไลน์ไปยังธุรกิจที่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ ASUS ทาง SmartOSC ได้สร้างแผนการซื้อของพนักงานที่นำเสนอโปรโมชัน โปรแกรมนี้จูงใจให้ธุรกิจท้องถิ่นใช้ผลิตภัณฑ์ ASUS ในขณะเดียวกันก็ให้เข้าถึงส่วนลดได้มากขึ้น

ยกระดับการขายไปอีกขั้น

การเพิ่มอีคอมเมิร์ซลงในเว็บไซต์แบรนด์ประจำท้องถิ่นช่วยเพิ่มผลลัพธ์ที่น่าประทับใจทั้งในแง่รายได้และ engagement นับตั้งแต่เปิดตัว Adobe Commerce ในเดือนมิถุนายน 2562 ทาง ASUS มีรายได้จากพีซีและมือถือเพิ่มขึ้น 56% โดยมาจากการเติบโตในการทำธุรกรรมผ่านพีซีและมือถือถึง 59% เมื่อเทียบกับปีก่อน เซสชันเว็บเพิ่มขึ้นมากกว่า 32% และจำนวนการเข้าชมหน้าเว็บก็เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งในสาม

การลดความซับซ้อนของรายได้ตัวแทนจำหน่ายส่งผลให้แบรนด์สามารถติดตามสินค้าคงคลังและลดทรัพยากรทางบัญชีได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่มีความหมายมากขึ้นระหว่างตัวแทนจำหน่ายกับสำนักงานในสิงคโปร์ เมื่อรวมศูนย์การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านเว็บไซต์ ASUS ก็สามารถควบคุมความเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันนั้นก็เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับผู้จัดจำหน่ายต่างๆ ไปด้วย

“เว็บไซต์ของ ASUS ในปัจจุบันเป็นแหล่งที่เหมาะที่สุดสำหรับการสำรวจผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายของเรา" Emma Ou ผู้จัดการประจำประเทศของ ASUS Singapore กล่าว “การเพิ่มเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจะนำเสนอโซลูชันการช้อปปิ้งที่สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นนอกเหนือจากร้านค้าแบรนด์และร้านค้าปลีกที่ได้รับอนุญาตทั้งหมดของเรา การโฮสต์เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของเราเองยังสอดคล้องกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของเราในการมอบประสบการณ์การช้อปปิ้งแบบ O2O ที่ไร้รอยต่อและโปรแกรมรางวัลที่น่าสนใจให้กับลูกค้าของเรา”

แนะนำสำหรับคุณ

https://main--bacom--adobecom.hlx.page/fragments/customer-success-stories/cards/generic-collection

ดูเรื่องราวของลูกค้าทั้งหมด

https://main--bacom--adobecom.hlx.page/fragments/customer-success-stories/contact-footer